Wednesday, September 25, 2013

วัดขุนอินทประมูล จังหวัดอ่างทอง





   วัดขุนอินทประมูล ประดิษฐานพระนอนองค์ใหญ่แห่งทุ่งโพธิ์ทอง อยู่ในเขตตำบลอินทประมูล วัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และ ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาวถึง ๕๐ เมตร (๒๕ วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนอยู่กลางแจ้งมานานนับเป็นร้อยๆ ปี องค์พระพุทธรูปมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็น น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ และ ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เสด็จฯ มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปีพ.ศ. ๒๕๑๘ พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจ นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีซากโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ซึ่งเหลือเพียงฐาน ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป และ ในศาลาเอนกประสงค์ มีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูลและโครงกระดูกมนุษย์ ขุดพบในเขตวิหารพระพุทธไสยาสน์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ลักษณะนอนคว่ำหน้า มือและเท้ามัดไพล่อยู่ด้านหลัง เชื่อกันว่าเป็นโครงกระดูกขุนอินทประมูล แต่บ้างก็ว่าไม่ใช่ ซึ่งตามประวัติเล่ากันว่า ท่านเป็นนายอากรผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ โดยยักยอกเอาเงินของหลวงมาสร้างเพื่อเป็นปูชนียสถาน ครั้นพระมหากษัตริย์ทรงทราบรับสั่งถามว่าเอาเงินที่ไหนมาสร้าง ขุนอินทประมูลไม่ยอมบอกความจริงเพราะ กลัวส่วนกุศลจะตกไปถึงองค์พระมหากษัตริย์จึงถูกเฆี่ยนจนตาย วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดขุนอินทประมูล”
การเดินทาง สามารถใช้เส้นทางได้ ๓ สายคือ สายอ่างทอง-อำเภอโพธิ์ทอง (ทางหลวงหมายเลข ๓๐๖๔) แยกขวาที่กิโลเมตร ๙ เข้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางจากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางอำเภอไชโยประมาณกิโลเมตรที่ ๖๔–๖๕ จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าถึงวัดเป็นระยะทาง ๔ กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางตัดใหม่สายอำเภอวิเศษชัยชาญ-โพธิ์ทอง (ถนนเลียบคลองชลประทาน) เมื่อถึงอำเภอโพธิ์ทองมีทางแยกเข้าวัดอีก ๒ กิโลเมตร 



วัดขุนอินทประมูลช่วงที่เกิดเหตุอุกภัย









วัดม่วง จังหวัดอ่างทอง


วัดม่วง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหัวตะพาน อยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ ประมาณ 8 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางสายอ่างทอง-วิเศษชัยชาญ (ทางหลวงหมายเลข 3195) กิโลเมตรที่ 29 เข้าไป 1 กิโลเมตร วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ ภายในวัดมีสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น พระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกลีบบัวสีชมพูขนาดใหญ่ที่สุดในโลก วิหารแก้ว ชั้นล่าง เป็นพิพิธภัณฑ์วัตถุมงคลและวัตถุโบราณ เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ 09.00-17.00 น. ภายในมีรูปปั้นเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศ ชั้นบน ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เนื้อเงินแท้ องค์แรกองค์เดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อเป็นเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่ครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี บริเวณวัดมีรูปปั้นแสดง แดนนรก แดนสวรรค์ แดนเทพเจ้าไทย และแดนเทพเจ้าจีนซึ่งมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ มีรูปปั้นแสดงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามไทย-พม่าที่เมืองวิเศษชัยชาญ ด้านหลังมีวังมัจฉา และสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ของดีเมืองอ่างทองได้

วัดม่วง
พระวิหารแก้วรัตนพราหมณ์-สุวรรณปาล เนื่องจากวันที่เดินทางไปยังวัดม่วงเป็นวันตรุษจีนพิเศษที่หลายๆ ปีจะมาบรรจบกันกับวันวาเลนไทน์ บรรยากาศการท่องเที่ยวในหลายๆ สถานที่ดูคึกคักเป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าวัดทำบุญก็ยังเป็นสิ่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ เมื่อเดินทางมาถึงการจะหาที่จอดรถว่างๆ ซักที่นั้นต้องขับวนไปวนมาหลายรอบ ทั้งๆ ที่วัดม่วงจังหวัดอ่างทองแห่งนี้มีพื้นที่ของลานจอดรถกว้างขวางมากๆ และมีหลายลานให้เลือกจอดก็ตาม ในที่สุดเมื่อเราหาที่จอดได้แล้วก็เริ่มเดินมาที่พระวิหารแก้วรัตนพราหมณ์-สุวรรณปาล แห่งนี้ก่อนเพื่อสักการะนมัสการหลวงพ่อเงิน (พระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยเนื้อเงินแท้องค์แรกของไทย)

วัดม่วง
ภายในพระวิหารแก้วรัตนพราหมณ์-สุวรรณปาล เริ่มจากรูปบนซ้ายเป็นบันไดทางขึ้นพระวิหารแก้วรัตนพราหมณ์-สุวรรณปาล ใช้ศิลปะแบบผสมไทย-จีน มีพญานาคเลื้อยที่ราวบันได แล้วเมื่อขึ้นไปถึงหน้าประตูจะมีมังกรพันหลัก เป็นมังกรเงิน-มังกรทอง ส่วนพระวิหารแก้วรัตนพราหมณ์-สุวรรณปาลนั้นประดับด้วยแก้วชิ้นเล็กๆ จำนวนมากเหมือนการสร้างวิหาร 100 เมตร หรือมณฑปต่างๆ ที่วัดท่าซุง(วัดจันทาราม) จังหวัดอุทัยธานี ส่วนภาพบนขวาเป็นรูปปั้นเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศ อยู่โดยรอบผนังของวิหาร ภาพล่างซ้ายเป็นเทพ ภาพล่างขวาเป็นสังขารร่างหลวงพ่อเกษม อาจารสโก ที่ไม่เน่าเปื่อยในโลงแก้ว

วัดม่วง
พระพุทธรูปเนื้อเงินแท้ นอกเหนือจากพระพุทธรูปองค์นี้แล้ววิหารแก้วยังมีสังขารของหลวงพ่อเกษมผู้บุกเบิกวัดม่วงแห่งนี้เก็บรักษาไว้ ตามประวัติกล่าวว่า
 หลวงพ่อเกษมได้เข้ามาบุกเบิกวัดม่วงเมื่อ วันที่ 8 ธันวาคม 2525 มีชาวบ้านตำบลหัวตะพานที่อยู่ใกล้เคียงกับวัดและชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายตำบลรู้ข่าวว่ามีพระสงฆ์องค์หนึ่งเก่งคาถาอาคม และบอกหวยแม่น และรักษายามเจ็บไข้ได้ป่วย มารักษากันได้หายจากอาการที่เป็น จึงเลื่องลือกันปากต่อปาก มีคนต่างพากันมาเอาหวยบ้าง มารักษาตัวบ้าง มาขอสักยันต์ที่ตัวกันบ้าง บางคนโดนวิญญาณเข้ามาสิงในตัว หาผู้มารักษาไม่หายก็มาให้หลวงพ่อเกษมเสกเป่าไล่วิญญาณออกจากร่าง ทำให้หลวงพ่อเกษมไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน มีผู้คนมาหาหลวงพ่อเกษมกันทั้งกลางวันกลางคืนกันไม่ขาด และพวกที่มาหาหลวงพ่อมัดจะได้ผลสำเร็จ จึงถวายเงินร่วมทำบุญสร้างวัดม่วง หลวงพ่อเกษมมีความอดทนสูง ถึงแม้ร่างกายจะเหนื่อย เพื่อคนมาทำบุญถวายเงินเอาไปสร้างวัดม่วง หลวงพ่อเกษมมรกิจนิมนต์จากคนในกรุงเทพฯ ที่มาเป็นลูกศิษย์กันหลายคนและสถานที่อื่นๆ อีกมากมายก็เพื่อทุ่งสร้างวัดม่วงได้จนสำเร็จ เริ่มแรกสร้างกุฎิสงฆ์ 2 หลัง สร้างห้องน้ำ แทงก์น้ำ พระอุโบสถ พร้อมกับหล่อพระพุทธชินราช หอสวดมนต์เอนกประสงค์ (มีเตาเผาศพด้วย) วิหารแก้วและรูปปั้นต่างๆ ฯลฯ ก็เพราะหลวงพ่อเกษมตรากตรำงาน มีเวลาพักผ่อนน้อยก็เริ่มมีร่างกายอ่อนแอ จึงเกิดล้มป่วย หมอตรวจพบว่าเป็นมะเร็งที่ตับ มีอาการถึงขั้นรุนแรงเสียแล้ว หลวงพ่อเกษมได้นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ตึก 84 ปี ชั้น 9 ห้อง 925 ต่อมาได้มรณภาพลงที่โรงพยาบาล วันที่ 7 มีนาคม 2544 เวลา 16.54 น. มีอายุได้ 54 ปี 6 เดือน 7 วัน หลวงพ่อเกษมได้สั่งลูกศิษย์ไว้ก่อนว่า ถ้าท่านมรณภาพให้นำร่างของท่านลงโลงแก้วประดับมุก ที่ท่านได้เตรียมไว้นานแล้ว เพราะท่านได้ญาณรู้ว่าท่านมีอายุไม่ยืน และสั่งไม่ให้เผา เก็บไว้ให้เป็นอนุสรณ์ตลอดชั่วกาลนาน ปัจจุบันเก็บไว้ในวิหารแก้ว

วัดม่วง
หลังคาวิหารแก้ว แม้แต่ภายในของวิหารแก้วรัตนพราหมณ์-สุวรรณปาล ก็ประดับด้วยวิธีการติดกระจกสะท้อนเงาของผู้ที่มาสักการะบูชาพระพุทธรูปในวิหารได้อย่างชัดเจน ทั้งส่วนผนังและเพดาน




วัดบ้านหงาว จังหวัดระนอง










ประวัติความเป็นมา


วัดบ้านหงาว เริ่มก่อตั้งเป็นที่พักสงฆ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 โดยในปีนั้น มีพระธุดงค์ที่มีอายุพรรษามากรูปหนึ่ง ท่านธุดงค์มาจากจังหวัดปัตตานี มีชื่อว่า หลวงพ่อเขียด ไม่ทราบนามฉายาของท่านมาปักกรดโปรดสัตว์อยู่ที่บริเวณสถานีอนามัยตำบลหงาวในปัจจุบัน เนื่องจากตำบลหงาวไม่มีวัดมาก่อน ชาวบ้านมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนามาก จึงพากันไปนมัสการ ทำบุญ ฟังธรรมกันมาก ต่อมาคุณแม่ลำไย สกุลสิงห์ คหบดีในตำบลหงาวอุทิศที่ดินจำนวน 2 ไร่ สร้างเป็นพี่พักสงฆ์ หลวงพ่อเขียด รับนิมนต์และย้ายไปปักกรดในที่ดินที่คุณแม่ลำไยอุทิศให้คือบริเวณที่ตั้งวัดปัจจุบัน เนื่องจากหลวงพ่อเขียดเป็นพระธุดงค์ ชอบความสงบวิเวก 

เมื่อสร้างที่พักสงฆ์เสร็จแล้ว มีพระภิกษุสามเณรมาอยู่กันมาก คนก็เริ่มเข้าวัดมากขึ้น ท่านเห็นว่ามีพระอยู่กันหลายรูปแล้ว ในปี พ.ศ. 2502 ท่านก็จาริกธุดงค์ไปที่อื่นต่อไป โดยไม่มีใครทราบว่าท่านธุดงค์ไปที่ไหนจนกระทั่งปัจจุบัน ต่อมาที่พักสงฆ์ บ้านหงาวได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสำนักสงฆ์สาขาวัดอุปนันทาราม มี พระครูสมุห์นิคม อรุโณ มาอยู่เป็นเจ้าสำนัก จึงมีการพัฒนาและก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น กุฏิพระสงฆ์ หอฉัน ศาลาการเปรียญ เป็นต้น เพื่อเตรียมการขอตั้งเป็นวัดให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกรมการศาสนา จะต้องมีที่ดินอย่างน้อย 6 ไร่ ขึ้นไป และมีกุฏิ เสนาสนะ สิ่งสาธารณูปโภค อย่างอื่น เช่น เมรุเผาศพ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ดร.แหลม พิชัยศรทัต ซึ่งเป็นผู้จัดการใหญ่ของบริษัทไซนัสทินชินทีเกรด ทำธุรกิจเหมืองเรือขุดแร่อยู่ในตำบลหงาวและเป็นกำนันอยู่ในตำบลหงาวในขณะนั้น ได้ของบประมาณจากทางจังหวัดมาสร้างเมรุเผาศพ และขอบริจาคที่ดินจากผู้ที่มีที่ดินติดกับวัด จึงทำให้วัดบ้านหงาวมีที่ดินเพิ่มขึ้น รวมทั้งสิ้น 22 ไร่เศษดังปัจจุบัน 

เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2530 สำนักสงฆ์ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ใช้ชื่อว่า “วัดบ้านหงาว” มี พระอธิการน้อม จนฺทสโร เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก พระอธิการน้อมมรณภาพในปี พ.ศ. 2532 ทางคณะสงฆ์จังหวัดระนองจึงได้ส่ง พระสมุห์โกศล กุสโล (อาจารย์ฉลวย กุสโล) มาเป็นเจ้าอาวาสแทน พระสมุห์โกศลท่านเป็นพระนักพัฒนา ท่านได้วางแผนพัฒนาวัดบ้านหงาวอย่างต่อเนื่อง สร้างกุฏิ หอฉัน ศาลาการเปรียญ เมรุเผาศพขึ้นใหม่ รวมทั้งจัดตั้งแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขึ้นในเมืองเก่า หาพันธุ์ปลามาปล่อย และตั้งชื่อขุมเหมืองแร่เก่านี้ว่า “วังมัจฉา” มีพันธุ์ปลาน้ำจืดที่หายาก เช่น ปลาบึก มาปล่อยลงวังมัจฉานี้ จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดระนองในปัจจุบัน ต่อมาพระสมุห์โกศล ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูพัฒนกิจโกวิท” เป็นพระนักพัฒนาตัวอย่าง และวัดบ้านหงาวได้รับการพิจารณาจากกรมการศาสนาให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ในปี พ.ศ. 2540 และวัดอุทยานการศึกษา ในปี พ.ศ. 2539 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 พระครูพัฒนโกวิท ได้ลาสิกขาออกไปเป็นฆราวาส ในปีเดียวกันนั้นคณะกรรมการและชาวบ้านตำบลหงาว ได้ไปนิมนต์ พระมหาเทียม ธมฺมิโก จากสำนักสงฆ์สวนผึ้ง มาเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนจนถึงปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2549 พระมหาเทียม ธมฺมิโก ได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระครูประจักษ์สุตสาร” ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ อดีตท่านเป็นคณาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐาน ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนองได้ดำเนินการปรับภูมิทัศน์วัฒนธรรมบริเวณวัดบ้านหงาว เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ในการจัดภูมิทัศน์วัฒนธรรมของตนเองอันก่อให้เกิดการรักษาคุณค่าความสำคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ยั่งยืนตลอดไป ต่อมาได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างองค์พระพุทธรูป นามว่า “หลวงพ่อดีบุก”

ปัจจุบัน วัดบ้านหงาว กำลังก่อสร้างอุโบสถเป็น 2 ชั้น หรือที่เรียกว่า อุโบสถลอยฟ้ากว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร รอบอุโบสถเทคอนกรีตเป็นลานกว้าง 14.50 เมตร ยาว 63 เมตร มีลูกกรงล้อมรอบ ในแต่ละมุมทั้ง 4 ด้าน มีอาคารจัตุรมุขกว้าง 3 เมตร ยาว 4.50 เมตร มีบันไดขึ้นลงรอบทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก ด้านล่างของอุโบสถเป็นห้องโถงใช้สำหรับการประชุมสัมมนา

ในอุโบสถวัดบ้านหงาว เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน มีนามว่า “หลวงพ่อดีบุก” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีชื่อเป็นทางการว่า “พระติปุกะพุทธมหาศากยมุนีศรีรณังค์” อันมีความหมายว่า “พระพุทธรูปดีบุกองค์ใหญ่เป็นสิริมงคลและศักดิ์ศรีของเมืองระนอง”

ด้วยเมืองระนอง มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ แร่ดีบุก อุดมสมบูรณ์ วิถีชีวิตของผู้คนผูกพันกับแร่ดีบุกมายาวนาน แร่ดีบุกเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงคนระนอง สร้างความมั่งคั่งมั่นคงและความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้นในแผ่นดินเมืองระนอง

ผู้บุกเบิกตำนานแร่ดีบุกเมืองระนอง คือ “คอซู้เจียง” ที่เข้ามายื่นขอประมูลอากรดีบุก เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2387 ปลายรัชกาลที่ 3 ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ต้นตระกูล ณ ระนอง เป็นเจ้าเมืองระนองคนแรก รับราชการมาตั้งแต่รัชกาลที่ 3 จนถึงรัชกาลที่ 5 ถึงอสัญกรรมเมื่ออายุได้ 86 ปี

แม้ปัจจุบันการทำเหมืองดีบุกจะไม่มีแล้ว จะมีเพียงการร่อนแร่ในลำคลองที่พอมีให้เห็นบ้างเท่านั้น จึงเป็นการย้อนอดีตคืนสู่ความทรงจำให้แก่คนรุ่นหลังได้รู้จักแร่ดีบุก และรู้คุณค่า

หลวงพ่อดีบุก วัดบ้านหงาว สร้างเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2551 ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 มหาฤกษ์ 13.39 น. ขนาดพระประธานหลวงพ่อดีบุก เป็นตัวเลขล้วนมีความหมายลึกซึ้งในแง่ของธรรมะและประวัติศาสตร์ คือ หน้าตักกว้าง 9 ฟุต หมายถึง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 9 หรือมงคล 9 สูงสุดแห่งมงคล ส่วนสูงจากฐานถึงเกตุมาลา 4 เมตร หรืออริยสัจ 4 ที่พระพุทธองค์แสดงปฐมเทศนา หรืออีกความหมายหนึ่งในอดีตพระมหากษัตริย์ได้เคยเสด็จเมืองระนองถึง 4 พระองค์ คือ รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9

นับว่าเป็น พระประธานที่หล่อด้วยแร่ดีบุกองค์แรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้แร่ดีบุกถึง 3 ตัน รวมถึงพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ รวมค่าใช้จ่ายประมาณ 4 ล้านบาท

หลวงพ่อดีบุก วัดบ้านหงาว แม้จะไม่ได้เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ แต่เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ แร่ดีบุกที่ใช้ในการสร้างองค์พระประธานเป็นแร่ที่มีนัยแห่งความดี คือ ดีบุก หมายถึง ความดีที่บุกเอาชนะความชั่ว

ในวันประกอบพิธีพราหมณ์ ประกอบพิธีอัญเชิญเทวดา พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด ท่ามกลางแดดจ้า และมีเสียงฟ้าร้อง เสมือนหนึ่งการรับรู้ของฟ้าดิน

วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ก่อนประกอบพิธียกพระประธานขึ้นประดิษฐานไว้บนพระอุโบสถชั้น 2 ซึ่งใช้รถเครนขนาดใหญ่ 2 คันยก ได้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักเสมือนหนึ่งว่าเทวดามาอวยพรสรงน้ำให้กับพระประธาน

ครั้นถึงเวลาตามฤกษ์ เวลา 14.39 น. ท้องฟ้าเปิดขึ้นมาทันที เป็นที่น่ามหัศจรรย์ สำหรับพุทธศาสนิกชนที่เข้าร่วมพิธีนับพันคน ต่างยกมือขึ้นสาธุพร้อมกัน

หลวงพ่อดีบุก เป็นธงชัยของวัดบ้านหงาวและชาวระนอง อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการก่อสร้างอุโบสถลอยฟ้า ใครจะกราบไหว้สักการะพระพุทธรูปดีบุกองค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จะต้องนึกถึงจังหวัดระนอง และมากราบไหว้บูชาหลวงพ่อดีบุกที่วัดบ้านหงาวซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองระนอง เพียง 12 กิโลเมตรเท่านั้น


อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจัทบุรี


 อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ หรือที่ใคร ๆ เรียกกันจนติดปากว่า "เขาคิชฌกูฏมีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอมะขาม และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี และยังเป็นต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำจันทบุรี สภาพป่าในบริเวณนี้มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าไม้ผลัดใบ มีสมุนไพรและกล้วยไม้ป่านานาชนิด รวมทั้งมีพันธุ์ไม้หายาก คือ ไม้กฤษณา

           สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในบริเวณ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ได้แก่ น้ำตกกระทิง, น้ำตกคลองช้างเซ, ยอดเขาพระบาท และที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษนั้น เห็นจะเป็นการนมัสการรอยพระบาทเขาคิชฌกูฏ หรือ พระบาทพลวง นั่นเอง 


โรงแรมบางกอกทรีเฮ้าส์




บางกอก ทรี เฮาส์ เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางที่ดีเยี่ยมใน กรุงเทพ ด้วยทำเลที่ตั้งอันเหมาะเจาะใน ธนบุรีใต้ จากที่นี้ ผู้เข้าพักสามารถไปยังทุกที่ในเมืองอันมีชีวิตชีวานี้ได้อย่างง่ายดาย ด้วยทำเลที่สะดวกสบายของโรงแรม คุณสามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่ต้องไปชมให้ได้ของเมืองได้อย่างง่ายดาย

เพลิดเพลินไปกับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหนือกว่าได้ที่โรงแรมใน กรุงเทพ สิ่งอำนวยความสะดวกระดับต้นๆ ของโรงแรมรวมถึง Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ, จักรยานให้เช่า, บาร์/ผับ, พนักงานต้อนรับ, คอฟฟี่ช็อป

สัมผัสประสบการณ์จากสิ่งอำนวยความสะดวกคุณภาพสูง รวมถึง โทรทัศน์จอแอลซีดี/จอพลาสม่า, โทรทัศน์, อินเทอร์เน็ตไร้สาย, เครื่องปรับอากาศ, ฝักบัว ที่ช่วยเติมพลังให้คุณหลังจากวันที่แสนยาวนาน โรงแรมให้บริการกิจกรรมนันทนาการสุดพิเศษมากมาย เช่น สวน บางกอก ทรี เฮาส์ เป็นทางเลือกอันชาญฉลาดสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไปยัง กรุงเทพ ด้วยการพักผ่อนที่แสนสบายไร้กังวลในทุกครั้งที่ไปพัก



เพลินวาน หัวหิน


แต่งตัววินเทจ ไประลึกถึงความหลัง วันวาน อันแสนหวาน ความทรงจำที่คุณไม่ควรพลาด กับสถานที่ท่องเที่ยวชิกๆชิลๆอีกแห่งที่นี่ เพลินวาน หัวหิน สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตติดอันดับอีก  ที่ของหัวหินไปแล้วค่ะ เพราะที่นี่มีกิจกรรมสนุกๆและอาหารอร่อยๆมากมายให้ผู้ที่เคยแวะมาเที่ยวได้เพลิดเพลินและพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เพลินวาน หัวหิน น่าเที่ยว และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คุณ..ไม่ควรพลาด!! 



มิโมซ่า พัทยา Mimosa Pattaya



มิโมซ่า (Mimosa) ที่เที่ยวพัทยาแห่งใหม่สไตล์เมืองนอก จำลองมาจาก COLMAR หมู่บ้านในเมือง Alsace ของฝรั่งเศส เป็นเมืองเก่าเล็กๆ สีสันสวยงาม ยกมาไว้เป็นที่เที่ยวพัทยาซะเลย  
    มิโมซ่า พัทยา เป็นสถานที่ท่องที่ยว ภายใต้แนวคิด The City of Love หรือเมืองแห่งความรัก ซึ่งก็คือการให้นักท่องเที่ยวได้เห็นมุมมองต่างๆ ของความรักผ่านทางศิลปะการตกแต่งภายในที่แห่งนี้นั่นเอง  มิโมซ่า พัทยา ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงแรมแอมบาสเดอร์ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี หาง่ายมากๆ ค่าเข้าชม Mimosa ผู้ใหญ่คนละ 50 บาทครับ ส่วนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และนักเรียน นักศึกษา พกบัตรแสดงตนมาเข้าฟรี ใครอยากมา เดินเล่น ช้อปปิ้ง ถ่ายรูป ทานอาหารในร้านสุดชิคก็มาที่นี่ได้เลย